บริบท

EMS001

ประวัติ

ปี 2539  แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ร่วมดำเนินงานกับคณะควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดขอนแก่น  ได้รับมอบหมายให้พัฒนาเจ้าหน้าที่มูลนิธิที่ทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่ดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุในพื้นที่ คือ มูลนิธิกู้ภัยกองทุนบุญทันตา มีการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และกำหนดเป็นพันธิกิจที่ต้องดำเนินการ คือ การให้บริการผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุที่มีประสิทธิภาพ  การจัดบริการหน่วยปฐมพยาบาล  และพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นทุกวันที่ 5 ของเดือน 

ปี 2540  มีการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่ตัวแทนบุคลากรและนักศึกษา เจ้าหน้าที่มูลนิธิ รวมถึงประชาชนและผู้สนใจ โดยอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ และการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยขั้นพื้นฐาน  ปีละกว่า 500 คน โดยใช้งบประมาณบริการวิชาการแก่สังคม  มีนางบุบผา  ชอบใช้ เป็นประธานโครงการ นางสาวกัญญา  วังศรี พยาบาล ระดับ 6  เป็นเลขานุการรับดำเนินการ จนถึงปี 2551      

ปี 2542  มีการดำเนิงานการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลศรีนครินทร์  เป็นหน่วยงานภายในแยกออกจากหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  หรือ  OPDAE  เป็นหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ หรือ หน่วย EMS  มีนามเรียกขานว่า กู้ชีพนครินทร์  มอบหมายให้นางสาวกัญญา  วังศรี พยาบาล ระดับ 6  เป็นเลขานุการรับดำเนินการ โดยมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลทเะบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยมีสมาชิก ร่วมดำเนินการ คือ นางวิภารันต์  สุขวาณิชวิชัย  ผู้ช่วยพยาบาล ระดับ 4  ดำเนินการด้านทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุจนถึงปัจจุบัน และได้ย้ายเข้าไปปฏิบัติการที่สำนักงานแผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในปี 2551  

ด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ได้จัดอบรมหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพ  10  วัน จำนวน 50 คน  อบรมเจ้าหน้าที่กู้ชีพให้กับผู้ช่วยพยาบาล พนักงานเวรเปล พนักงานขับรถพยาบาล หลักสูตร 5 วัน  และมอบหมายนางสาวกัญญา  วังศรี พยาบาล ระดับ 6  และ นายอนุชา  มะลาลัย ผู้ช่วยพยาบาล ระดับ 4  บริหารจัดการในการจัดหาครุภัณฑ์ที่จำเป็น ด้านรถพยาบาล วิทยุสื่อสาร และกำลังคน  จัดอัตรากำลังโดยรับสมัคร Part Time จัดเวรเช้้า บ่าย  เวรดึกเป็น OPDAE ช่วย   และทำพิธีเปิดบริการในวันที่ 24  กันยายน 2542  เป็นต้นมา ให้บริการในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียงตามการแบ่งโซนบริการของจังหวัดขอนแก่น 

ปี 2545  มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ และประสานการส่งต่อผู้ป่วย งานส่วนนี้ก็มอบหมายให้ EMS ดำเนินการ  มีการบริการถ่ายเอกสารการตรวจสอบสิทธิ์ และประสานจัดหาและขึ้นทะเบียนรถร่วมบริการดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยนอกเขตต่างอำเภอ ต่างจังหวัด  แผนก ฯ จัดสรรอัตรากำลังให้ EMS เพิ่ม  และขอจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ ในปี 2546  ชื่อ  หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ หรือ หน่วย EMS & Refer Unit   มีนามเรียกขานว่า กู้ชีพนครินทร์  และแต่งตั้งให้นางสาวกัญญา  วังศรี พยาบาลชำนาญการพิเศษ ระดับ 8  เป็นผู้จัดการหน่วย  ตั้งแต่ววันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา

ปี 2550  แยกงานตรวจสอบสิทธ์ ถ่ายเอกสารออำจากหน่วย EMS ให้งานสังคมสงเคราะห์รับไปดูแล

ปี 2551  แยกงานประสานการส่งต่อออก ให้ OPDAE รับไปบริหารจัดการตั้งหน่วยงานภานในรองรับ คือ หน่วยประสานการส่งต่อ

แล้วมาเล่าต่อนะคะ          

บุคลากร

บุคลากร

EMS003

ทำเนยบเจาหนาท 2564

รถพยาบาล

รถพยาบาล

EMS004

ขอบเขตการให้บริการ

ขอบเขตการให้บริการ

EMS002

สถิติการบริการ

สถิติการบริการ

EMSSTAT62

ประเมินความพึงพอใจ

หากท่านเคยใช้บริการจากหน่วย EMS ทั้งงาน EMS งาน Rfer และงานบริการวิชาการแก่สังคม ขอความอนุเคราะห์จากท่านช่วยประเมินความพึงพอใจให้กับทีมเราด้วยนะคะ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและปรับปรุงพัฒนาคุณภาพงานให้ดียิ่งขึ้น  ผ่าน Google Form นี้นะคะ

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc_UJld-fPd_85-b7ZAfv9qarK7HWAKdt0lWUrzZ1c6r5yOTQ/viewform

แหล่งฝึกอบรม

แหล่งฝึกอบรม

EMT 42

สื่อการสอน

สื่อการสอนที่ยึดเป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ

วิดีทัศน์แสดงการประเมินอาการผู้บาดเจ็บ การประคองศีรษะและคอ การสวมเฝือกดามคอ การยึดตรึง การยกเคลื่อนย้าย ตามหลักการของหลักสูตร PHTLS

การจำกัดการเคลื่อนไหวแนวกระดูกสันหลัง (Pre-hospital Trauma Spinal Motion Restriction and Packaging)

การวัดและสวมเฝือกดามคอ (Cervical Collar Application)

วิดิทัศน์แสดงขั้นตอนการใช้สายรัดห้ามเลือดอย่างถูกต้อง ตามหลักการของ PHTLS 9th Edition พร้อมคำบรรยายภาษาไทย สามารถนำไปฝึกฝนได้ทันที

วิดิทัศน์แสดงขั้นตอนการใช้แถบรัดตรึงกระดูกเชิงกรานอย่างถูกต้อง ตามหลักการของ PHTLS 9th Edition พร้อมคำบรรยายภาษาไทย สามารถนำไปฝึกฝนได้ทันที

สรุปผลงานปี 2563

สไลด1สไลด2สไลด3สไลด4สไลด5สไลด6สไลด7สไลด8สไลด9สไลด10สไลด11สไลด12สไลด13สไลด14สไลด15สไลด16สไลด17สไลด18สไลด19

 

EMS2563

 

สรุปผลงานปี 2564

สไลด1สไลด2สไลด3

สไลด4สไลด5สไลด6สไลด7

สไลด8
สไลด9สไลด10สไลด11

สไลด12สไลด13สไลด14สไลด15สไลด16

สไลด17

สไลด18สไลด19

 

สไลด20สไลด21สไลด22

สไลด23สไลด24สไลด25