ประวัติ

ประวัติหน่วยพัฒนาคุณภาพและสารสนเทศทางการพยาบาล

(Nursing Quality Improvement and Informatics Unit) 

วัน/เดือน/ปี หน่วยงาน ภาระงาน บุคลากร
ปี 2548 – ปัจจุบัน

หน่วยสารสนเทศ ทางการพยาบาล

(สังกัดงานบริการพยาบาล โดยเป็นหน่วยงานโครงสร้างภายในขององค์กรพยาบาล

งานบริการพยาบาล มุ่งเน้นและนำระบบสารสนเทศมาใช้ด้านการพยาบาล โดยได้ตั้งหน่วยสารสนเทศทางการพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ได้มอบหมายภาระงานให้พยาบาล 1 คน ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาล และการบริหารจัดการขึ้นตรงต่อหัวหน้างานบริการพยาบาล โดยบทบาทหน้าที่และภาระงานคือ พัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทุกจุดของหอผู้ป่วยและหน่วยงาน เช่น ตัวชี้วัดทางการพยาบาล และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ มาใช้อำนวยความสะดวก โดยมุ่งเน้นในเรื่องความน่าเชื่อถือของระบบ ทันสมัยและง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และผู้บริหารทางการพยาบาล อย่างทันเวลา ถูกต้อง ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

พยาบาล 1 คน

นางสุดถนอม กมลเลิศ

ปี 2551 จัดตั้งหน่วยพัฒนาคุณภาพการพยาบาล (สังกัดงานบริการพยาบาล โดยเป็นหน่วยงานโครงสร้างภายในขององค์กรพยาบาล) จัดตั้งหน่วยคุณภาพในปี 2551 เพื่อตอบสนองภารกิจหลักด้านการพัฒนาคุณภาพ คือ การดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพการบริการพยาบาล รวมทั้งบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการของทุกหน่วยงานทางการพยาบาล เพื่อให้องค์กรพยาบาลบรรลุเป้าหมายการบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล

- พยาบาล 1 คน คือ

น.ส.จงกล พลตรี

- เจ้าหน้าที่บริหาร

งานทั่วไป 1 คน คือ นางวิลาพร สนิทเชื้อ

ปี 2551 - 2556 หน่วยพัฒนาคุณภาพการพยาบาล - ดำเนินงานภายใต้ภารกิจหลักตามข้างต้น ทั้งด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการทางการพยาบาล   และด้านการบริหารความเสี่ยงเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ ดังนี้  

- พยาบาล 1 คน คือ

น.ส.จงกล พลตรี (ปฏิบัติงานระหว่างปี2551 – 2555)

และนางรานี แสง

   

1)   ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการทางการพยาบาล

- กำหนดนโยบายคุณภาพและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการทางการพยาบาล รวมทั้งการทบทวน จัดทำเป้าหมายเข็มมุ่งประจำปี จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการบริการระดับงานบริการพยาบาลและโรงพยาบาล โดยดำเนินการร่วมกับคณะ กรรมการบริหารและคณะกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง

-   การพัฒนาและติดตามดัชนีชี้วัดคุณภาพด้านการบริการพยาบาล   โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพงานบริการพยาบาล

- การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง

- การติดตามและรวบรวมข้อมูลความ ก้าวหน้าในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของทีมหรือหน่วยงานต่าง รวมทั้งติดตามโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

- การติดตามประเมินความพึงพอใจการบริการพยาบาล และวางแผนพัฒนาปรับปรุง

- การให้คำปรึกษา และตรวจประเมินคุณภาพภายใน (Internal Survey, Quality Round) โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานบริการพยาบาล คณะ กรรมการเยี่ยมสำรวจภายในของโรงพยาบาล

จันทร์นวล(ปฏิบัติงานระหว่างปี 2555 – 2556)  

- เจ้าหน้าที่บริหาร

งานทั่วไป 1 คน คือ นางวิลาพร สนิทเชื้อ

   

- การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานทางการพยาบาล และรับการเยี่ยมสำรวจจากองค์กรภายนอกร่วมกับงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล เช่น การตรวจประเมินเพื่อเฝ้าระวัง(Surveillance Survey) การประเมินต่ออายุการรับรอง ( HA Re-Accreditation Survey) โดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)  

2) ด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ  

- การบริหารเรื่องร้องเรียน ชมเชย/ เสนอแนะระบบบริการ

- การพัฒนาระบบบริหารยา เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการพยาบาล

- การติดตามประเมินผลการดำเนินการ และติดตามตัวชี้วัดการบริการ

- การนิเทศ   การกำกับติดตาม การให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นวิทยากร

-   การบริการข้อมูลและสถิติอุบัติการณ์ความเสี่ยง สถิติเรื่องร้องเรียน ชมเชย และเสนอแนะบริการ

 
11 มีนาคม 2564 – 31 ตุลาคม 2565 จัดตั้งหน่วยพัฒนาคุณภาพและสารสนเทศการพยาบาล

1.ด้านการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพการบริการ

   - ร่วมกำหนดนโยบายคุณภาพและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการบริการระดับงานบริการพยาบาล โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

   - พัฒนาและติดตามดัชนีชี้วัดคุณภาพที่สำคัญของงานบริการ โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง    

   - ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยผ่านโปรแกรมสารสนเทศ

   - ติดตามข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์และรายงานผลดัชนีชี้วัดต่อผู้บริหาร คณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาระบบงานตามผลลัพธ์ของดัชนีชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินการที่ดีแล้วนำสู่การประกันคุณภาพงานต่อไป

   - พัฒนาระบบงานสำคัญเมื่อพบผลลัพธ์ของดัชนีชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น พัฒนาระบบการบริหารยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาร่วมกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   - ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการ   โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของงานบริการพยาบาล

   - ประสานและดำเนินการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนาวิชาการ หรือเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพร่วมกับหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล   เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการ

   - ติดตามและรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งติดตามโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของทีมหรือหน่วยงานทางการพยาบาล

   - ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายใน (Internal Survey   และ Quality Round)   โดยดำเนินการร่วมกับผู้บริหารและคณะกรรมการต่าง ๆ ของงานบริการพยาบาลรวมทั้งคณะกรรมการเยี่ยมสำรวจภายในของโรงพยาบาล

   - จัดทำและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร คู่มือ เอกสารคุณภาพ แนวทางพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการคุณภาพแก่หน่วยงานทางการพยาบาล

   - รับการเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน   เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจากบุคลากรทางสาธารณสุขโรงพยาบาลต่าง ๆ

   - เตรียมความพร้อมและการรับการเยี่ยมสำรวจจากองค์กรภายนอก เพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เช่น การประเมินเพื่อต่ออายุการรับรอง (Re-Accreditation Survey) การประเมินเพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานเฉพาะโรค (Disease Specific Certification) การประเมินเพื่อเฝ้าระวัง (Surveillance Survey) โดยองค์กรภายนอก

   - ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารการพยาบาล (รองหัวหน้างานบริการพยาบาลฝ่ายคลินิกบริการ   ผู้ช่วยหัวหน้างานบริการพยาบาลด้านบริหารความเสี่ยง) ในการจัดระบบติดตามและเฝ้าระวัง ดังนี้

   - พัฒนาคู่มือ มาตรการหรือระเบียบปฏิบัติ/ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล ร่วมกับคณะกรรมการของงานบริการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล

   - ติดตาม เฝ้าระวังและการค้นหาความเสี่ยงทั้งในเชิงรับและเชิงรุก และการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการค้นหาความเสี่ยงในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง  

   - การประเมินและการจัดการ ควบคุม ป้องกันปัญหาความเสี่ยง เช่น จัดทำสถิติและบัญชีความเสี่ยง (Risk Profile) และทะเบียนความเสี่ยง (Risk Register) ระดับงานบริการพยาบาล   กำหนดมาตรการการป้องกันความเสี่ยงสำคัญการติดตามประเมินภาวะผู้ป่วยและญาติ หาข้อเท็จจริงจากพื้นที่เกิดเหตุการณ์ ในกรณีที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานต่อผู้บริหาร คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

   - เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ป่วยและ/หรือญาติ   กับผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการจัดการความเสี่ยง เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือเจรจาไกล่เกลี่ยในเหตุการณ์ความเสี่ยงหรือการร้องเรียนที่รุนแรง เสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือมีแนวโน้มเป็นปัญหาทางกฎหมาย

   - ติดตามปัญหาความเสี่ยงที่สำคัญและรุนแรง ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ และวางแผนเชิงระบบเพื่อการแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ

   - จัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการอื่นรวมทั้งบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุม Risk Conference, Quality Conference   เป็นต้น

   - ติดตามและรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง รวมทั้งติดตามตัวชี้วัดของทีมหรือหน่วยงานทางการพยาบาล เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

   - ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหาร บริการการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพ และการศึกษาวิจัย

   - จัดระบบฐานข้อมูลของงานบริการพยาบาล ทั้งข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลผู้ใช้บริการ

   - พัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อการจัดเก็บตัวชี้วัดทางการพยาบาลของงานบริการพยาบาลอย่างเป็นระบบ

   - พัฒนาช่องทางสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ของงานบริการพยาบาล และประสานงานกับโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ ในการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ที่ทันสมัย

   - นำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ในการจัดประชุม สัมมนาของงานบริการพยาบาลทั้งการประชุมภายในงานบริการพยาบาล โรงพยาบาล และหน่วยงานภายนอก เช่น Zoom meeting, Teleconference เป็นต้น โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รีบมอบหมาย

   - ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ดร.จงกล พลตรี เป็นหัวหน้าหน่วย และมีบุคลากร 5 คน คือ

1.นางสุดถนอม กมลเลิศ พยาบาลชำนาญการพิเศษ

2.นางบุษบา บุญกระโทก พยาบาลชำนาญการพิเศษ

3.นายภาสกร เงางาม พยาบาลปฏิบัติการ

4.น.ส.แพรวไพลิน เจ๊กภู่ พยาบาลปฏิบัติการ

5.นางลาวัลย์ เขียวหนู พนักงานธุรการ

1 ตุลาคม 2565 – ปัจจุบัน หน่วยพัฒนาคุณภาพและสารสนเทศการพยาบาล

1.ด้านการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพการบริการ

2. ด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

3. ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหาร บริการการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพ และการศึกษาวิจัย

นางสาวรัศมี ภะวะพินิจ เป็นหัวหน้าหน่วย

โครงสร้างบุคลากร

ขอบเขตการให้บริการ

         ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คือ การให้บริการและประสานภารกิจต่าง ๆ เพื่อการดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพการบริการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการบริการของงานบริการพยาบาลและเชื่อมโยง ประสานงานกับระบบคุณภาพของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รวมทั้งองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพ  โดยแบ่งเป็น 3  ภารกิจหลัก คือ  1)  ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการ  2)  ด้านการบริหารความเสี่ยงเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ  และ  3)  ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อให้มีข้อมูลในการบริหาร บริการรักษาพยาบาล  พัฒนาคุณภาพ และการวิจัย  รายละเอียดภาระงานแต่ละด้าน ดังนี้  

 1      ด้านการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพการบริการ

โดยดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารการพยาบาล (รองหัวหน้างานบริการพยาบาลฝ่ายคลินิกบริการ  ผู้ช่วยหัวหน้างานบริการพยาบาลด้านคุณภาพ) ในการจัดระบบการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการ ดังนี้

  1. ร่วมกำหนดนโยบายคุณภาพและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและประกันคุณภาพการบริการ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการบริการระดับงานบริการพยาบาล โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาและติดตามดัชนีชี้วัดคุณภาพที่สำคัญของงานบริการ โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง  
  3. ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยผ่านโปรแกรมสารสนเทศ
  4. ติดตามข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์และรายงานผลดัชนีชี้วัดต่อผู้บริหาร คณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาระบบงานตามผลลัพธ์ของดัชนีชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และกรณีที่ผลลัพธ์การดำเนินการที่ดีแล้วนำสู่การประกันคุณภาพงานต่อไป
  5. พัฒนาระบบงานสำคัญเมื่อพบผลลัพธ์ของดัชนีชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น พัฒนาระบบการบริหารยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาร่วมกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการ  โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของงานบริการพยาบาล
  7. ประสานและดำเนินการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนาวิชาการ หรือเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพร่วมกับหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการ
  8. ติดตามและรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งติดตามโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของทีมหรือหน่วยงานทางการพยาบาล
  9. ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายใน (Internal  Survey  และ  Quality Round)   โดยดำเนินการร่วมกับผู้บริหารและคณะกรรมการต่าง ๆ ของงานบริการพยาบาลรวมทั้งคณะกรรมการเยี่ยมสำรวจภายในของโรงพยาบาล
  10. จัดทำและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร คู่มือ เอกสารคุณภาพ แนวทางพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการคุณภาพแก่หน่วยงานทางการพยาบาล
  11. รับการเยี่ยมชม  ศึกษาดูงาน  เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจากบุคลากรทางสาธารณสุขโรงพยาบาลต่าง ๆ
  12. เตรียมความพร้อมและการรับการเยี่ยมสำรวจจากองค์กรภายนอก เพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  เช่น การประเมินเพื่อต่ออายุการรับรอง (Re-Accreditation Survey)  การประเมินเพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานเฉพาะโรค (Disease Specific Certification) การประเมินเพื่อเฝ้าระวัง (Surveillance Survey)  โดยองค์กรภายนอก
  13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

2      ด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

          โดยดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารการพยาบาล (รองหัวหน้างานบริการพยาบาลฝ่ายคลินิกบริการ  ผู้ช่วยหัวหน้างานบริการพยาบาลด้านบริหารความเสี่ยง) ในการจัดระบบติดตามและเฝ้าระวัง ดังนี้

  1. พัฒนาคู่มือ มาตรการหรือระเบียบปฏิบัติ/ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล  ร่วมกับคณะกรรมการของงานบริการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล
  2. ติดตาม เฝ้าระวังและการค้นหาความเสี่ยงทั้งในเชิงรับและเชิงรุก  และการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการค้นหาความเสี่ยงในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง   
  3. การประเมินและการจัดการ ควบคุม ป้องกันปัญหาความเสี่ยง เช่น จัดทำสถิติและบัญชีความเสี่ยง (Risk Profile) และทะเบียนความเสี่ยง (Risk Register) ระดับงานบริการพยาบาล  กำหนดมาตรการการป้องกันความเสี่ยงสำคัญการติดตามประเมินภาวะผู้ป่วยและญาติ  หาข้อเท็จจริงจากพื้นที่เกิดเหตุการณ์   ในกรณีที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เพื่อรวบรวมข้อมูลรายงานต่อผู้บริหาร คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
  4. เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ป่วยและ/หรือญาติ  กับผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการจัดการความเสี่ยง เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือเจรจาไกล่เกลี่ยในเหตุการณ์ความเสี่ยงหรือการร้องเรียนที่รุนแรง  เสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือมีแนวโน้มเป็นปัญหาทางกฎหมาย
  5. ติดตามปัญหาความเสี่ยงที่สำคัญและรุนแรง ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ และวางแผนเชิงระบบเพื่อการแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
  6. จัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการอื่นรวมทั้งบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น การประชุม Risk Conference, QualityConference   เป็นต้น
  7. ติดตามและรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง รวมทั้งติดตามตัวชี้วัดของทีมหรือหน่วยงานทางการพยาบาล เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  8. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3      ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหาร บริการการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพ และการศึกษาวิจัย

  1. จัดระบบฐานข้อมูลของงานบริการพยาบาล ทั้งข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลผู้ใช้บริการ
  2. พัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อการจัดเก็บตัวชี้วัดทางการพยาบาลของงานบริการพยาบาลอย่างเป็นระบบ
  3. พัฒนาช่องทางสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ของงานบริการพยาบาล และประสานงานกับโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ ในการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ที่ทันสมัย
  4. นำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ในการจัดประชุม สัมมนาของงานบริการพยาบาลทั้งการประชุมภายในงานบริการพยาบาล โรงพยาบาล และหน่วยงานภายนอก เช่น Zoom meeting, Teleconference  เป็นต้น โดยดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รีบมอบหมาย
  5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย  

กิจกรรมและผลงาน

 ผลงานที่พัฒนา

ปี 2551

  • เว็บไซต์ งานบริการพยาบาล

ปี 2553

  • ระบบฐานข้อมูลบุคลากร
  • โปรแกรมวิเคราะห์เวลารับบริการผู้ป่วยนอก
  • โปรแกรมแบบจัดเก็บดัชนีชี้วัดความปวด(Acute pain)

ปี 2554

  • โปรแกรมแบบบันทึกแผลกดทับ
  • โปรแกรมแบบจัดเก็บดัชนีชี้วัดความปวด(Cancer pain)
  • โปรแกรมจองห้องพิเศษ

ปี 2555

  • ระบบฐานข้อมูลคลินิกโรคติดเชื้อเด็ก
  • โปรแกรม Productivity IPD
  • ระบบประเมินความพึงพอใจในงานของบุคลากร
  • โปรแกรม Productivity OPD
  • ระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่อง

ปี 2556

  • ระบบเบิก-จ่ายค่าตอบแทนบุคลากร
  • โปรแกรม Near Miss
  • Targeted Surveillance Program
  • โปรแกรมแยกประเภทผู้ป่วยและ Productivity_v2

ปี 2557

  • ระบบประเมินสมรรถนะ (พยาบาลใหม่)
  • โปรแกรมเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดแผลกดทับ_v2
  • ระบบฐานข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทาง
  • ระบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล
  • ระบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ (เครือข่าย)

ปี 2558

  • ระบบจองห้องประชุม งานบริการพยาบาล
  • ระบบลงทะเบียนพัฒนาบุคลากร
  • ระบบเก็บตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก

ปี 2559

  • ระบบลงทะเบียนรับ-ส่งเอกสาร
  • ระบบเบิก-จ่ายเงินงบประมาณ
  • ระบบประเมินผลการศึกษา-ดูงาน
  • ระบบติดตามภาระงาน

ปี 2560

  • ระบบเก็บตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก (ปรับปรุง)
  • ระบบฐานข้อมูลผลการประเมินภาวะซึมเศร้า
  • ระบบประเมินสมรรถนะผู้บริหาร
  • ระบบสารสนเทศกลุ่มผู้สูงอายุ
  • ระบบคัดกรองภาวะโภชนาการ
  • ระบบสำรวจประเมินสถานะและศักยภาพของพยาบาล

ปี 2561

  • ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านจริยธรรมสำหรับพยาบาล
  • ระบบลงทะเบียนอบรม
  • ระบบเก็บตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก version2

ปี 2562

  • ระบบรับสมัครทุนการศึกษาสำพรับนักศึกษาพยาบาล
  • ระบบประเมินสมรรถนะพยาบาลใหม่ version2
  • Productivity_OPD version2
  • ระบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ (ระดับปฏิบัติการ)
  • ระบบจัดเก็บตัวชี้วัดความปวด (Acute pain)_v2
  • ระบบจัดเก็บตัวชี้วัดความปวด (Cancer pain)_v2
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะพยาบาลใหม่_V2

ปี 2563

  • ระบบเบิก-จ่ายเงิน พตส.ออนไลน์
  • โมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการกินยาต้านอย่างสม่ำเสมอ
  • ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยเด็กวัณโรค
  • ระบบสารสนเทศเพื่อตรวจสอบคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล_V2
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการเบิก-จ่ายเงินค่าตอบแทน Covid
  • ระบบลงทะเบียนผลงานคุณภาพ

ปี 2564

  • ระบบสารสนเทศเพื่อการเบิก-จ่ายค่าที่พัก
  • ระบบสารสนเทศเพื่อรายงานยอดผู้ป่วยประจำวัน
  • เว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล
  • ระบบสารสนเทศเพื่อรายงานตัวชี้วัดทางการพยาบาล

ปี 2565

  • ระบบสารสนเทศเพื่อตรวจสอบคู่มือปฏิบัติการพยาบาล
  • ระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บข้อมูลการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ปี 2566

  • ระบบคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
  • ระบบสืบค้นเอกสาร ฝ่ายการพยาบาล
  • ระบบเอกสารเสนอคำสั่งแต่งตั้งผ่านงานนิติธรรม
  • ระบบสารสนเทศเพื่อประเมินสมรรถนะและบันทึกแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP)
  • ระบบสารสนเทศขอหลักการการเบิกจ่ายงบต่างๆ
  • ระบบสารสนเทศเพื่อยืม-คืนอุปกรณ์ IT ฝ่ายการพยาบาล
  • ระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บแผนนิเทศทางการพยาบาล
  • E-learning for nurse
  • ระบบคิว (Smart-Q OPD)

ปี 2567 

  •  ระบบสารสนเทศเพื่อเบิก-จ่ายผ้า/ชุดปฏิบัติงานสำหรับบุคลากร
  • ระบบฐานข้อมูลครูพี่เลี้ยง/ครูคลินิก
  • ระบบสารสนเทศเพื่อตรวจสอบคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลตามเกณฑ์ สปสช.

ผลงานวิจัยด้านสารสนเทศ

  • The Effect of Patient Classification Computer Program on Staff Administration Decision Making of Incharge nurse in Srinagarind Hospital (Reference No. HE571002)
  • Development of Information System for Targeted Surveillance program in Srinagarind Hospital (Reference No. HE571339)
  • The Information System Development for Assessment and Processing Competency of Nurse Administratorin Srinagarind Hospital (Reference No. HE601336)
  • The Effectiveness of Mobile Application on ARV Adherence in Adolescent living with HIV and Aids of a University's Hospital (Reference No. HE631320)
  • Reporting and Tracking Key Performance Indicator nursing System For Executive Decision Support.(Reference No. HE651156)
  • E-learning development for nursing learning in Srinagarind hospital(Reference No. HE661196)

นวัตกรรมด้านสารสนเทศ

  • ระบบฐานข้อมูลคลินิกโรคติดเชื้อเด็ก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 
  • Mobile Application on ARV Adherence

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์

ผลงานด้านสารสนเทศที่ได้รับรางวัลต่างๆ

  1. ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภท Poster presentationจากการนำเสนอ CQI ในงานนำเสนอผลงานเชิงคุณภาพและงานวิจัย งานบริการพยาบาล ประจำปี 2555 เรื่อง ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และรายงานแผลกดทับ
  2. ได้รับรางวัลชดเชย ประเภท Oral presentationจากการนำเสนอ CQI ในงานนำเสนอผลงานเชิงคุณภาพและงานวิจัย งานบริการพยาบาล ประจำปี 2555 เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากร งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  3. ได้รับรางระดับดี ประเภท Poster presentation จากการนำเสนอ CQI  ในงานประชุมวิชาการ เรื่อง "ความท้าทายของวิชาชีพพยาบาลในเวทีประชาคมอาเซียน ปี 2558 : ASEAN Economic Community 2015 : Challenges to Nursing Profession " ระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรม เจริญธานี ขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากร งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  4. ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภท Oral presentation จากการนำเสนอ CQI ในงานวันคุณภาพ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี 2556 เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อเด็ก
  5. ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ประเภท การพัฒนานวัตกรรม ด้านการบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี เด็กและวัยรุ่น ปี 2557 จากกรมควบคุมโรค เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการดูแลแบบองค์รวมในคลินิกโรคติดเชื้อเด็กโรงพยาบาลศรีนครินทร์
  6. ได้รับรางวัลระดับดีเด่นประเภท Poster presentation จาการนำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2558วันที่ 8 สิงหาคม 2558 ณ อาคารพจน์ สารสิน การวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ “ Institutional Research for Excellent Organization Development” ณ อาคารพจน์  สารสิน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นเรื่อง ผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วยต่อความสามารถในการตัดสินใจบริหารอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (The Effect of Patient Classification Computer Program on Staff Administration Decision Making of Incharge nurse in Srinagarind Hospital)
  7. ได้รับคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานวิจัย ประเภท Oral presentation ในงานประชุมวิชาการพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 15  ประจำปี 2558  อนาคตพยาบาล :  นำการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะประชาคมอาเซียน ( Future  of  Nursing : Leading Change, Advancing Health in ASEAN Community )  ระหว่างวันที่ 10 -11 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์  สุขุมวิทย์  กรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วยต่อความสามารถในการตัดสินใจบริหารอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  8. ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภท Oral presentation จากการนำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการ ICN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง IC Update 2016 : Cultivating Awareness For Safety And Quality Journey สร้างความตระหนัก สู่วัฒนธรรมความปลอดภัย ระหว่างวันที่ 17 ก.พ. 2559 - 19 ก.พ. 2559 โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (Development of Information System for Targeted Surveillance in Srinagarind Hospital)
  9. ไดรับรางวัลชนะเลิศ ประเภท Iteration เรื่อง การพัฒนาระบบเบิก-จ่ายเงิน พตส.ออนไลน์ ในการนำเสนแผลงาน "KKU DIGITAL ACADEMY & CONTEST 2019" วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  10. ได้รับรางวัลชมเชย ประเภท Innovation เรื่อง การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการกินยาต้านไวรัสในผู้ป่วยวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในการนำเสนอผลงาน "KKU DIGITAL ACADEMY & CONTEST 2019" วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  11. ได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอผลงานวิจัย ในการนำเสนอผลงานคุณภาพ Show&share ประจำปี 2564 งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ วันที่ 29 ก.ค.2564 ณ ห้องประชุมมิตรภาพ เรือง ประสิทธิผลของโมบายแอปพิเคชั่นต่อความร่วมมือในการกินยาต้านไวรัสในผู้ป่วนวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 
  12. ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภท RM จากการนำเสนอ CQI ในการนำเสนอผลงานคุณภาพ Show&share ฝ่ายการพยาบาล ประจำปี 2566 เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
  13. ได้รับรางวัลชมเชย ประเภท Oral Presentation ประเด็นนวตกรรมทางการพยาบาล เรื่อง ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ป่วยวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในการนำเสนอผลงาน ประชุมวิชาการ ประจำปี 2566 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง "SMART NURSE: บทบาทพยาบาลในโลกยุคดิจิตัล”  วันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมสีมาโฮเตล จ.นครราชสีมา
  14. ได้รับรางวัลชมเชย ประเภท Oral Presentation ประเด็นนวตกรรมทางการพยาบาล เรื่อง การพัฒนาระบบ E-learning สำหรับบทเรียนเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ในการนำเสนอผลงาน ประชุมวิชาการ ประจำปี 2566 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง "SMART NURSE: บทบาทพยาบาลในโลกยุคดิจิตัล”  วันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมสีมาโฮเตล จ.นครราชสีมา
  15. ได้รับรางวัลที่ 2 ด้านการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง "การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาล" งานประชุมวิชาการการจัดการความรู้ Share and Learn ประจําปี 2566 “Enjoy learning for Sustainability Organization” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 10 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมมิตรภาพ
  16. ได้รับรางวัลที่ 3 ด้านการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง "การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ทางการพยาบาล" งานประชุมวิชาการการจัดการความรู้ Share and Learn ประจําปี 2566 “Enjoy learning for Sustainability Organization”  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมมิตรภาพ

ติดต่อเรา

  หน่วยพัฒนาคุณภาพและสารสนเทศการพยาบาล งานการพยาบาลเฉพาะทางและสนุนสนับบริการพยาบาล
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เบอร์โทร 043363083-4