โครงการพัฒนาสมรรถนะของหน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง

หน่วยเฉพาะทาง  งานบริการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์

ระหว่าง วันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ.2561

ณ. Royal Nakhara Hotel Convention Centreอ. เมือง จ.หนองคาย

  1. ชื่อโครงการ“พัฒนาสมรรถนะของหน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง ปี 2561”
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการ  หน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง งานบริการพยาบาล
  3. หลักการและเหตุผล

หน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีบุคลากร จำนวน 37 คน รูปแบบบริการในแต่หน่วยมีความแตกต่างออกไป การดำเนินในรอบปีที่ผ่านมาทำให้เห็นศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งโอกาสในการพัฒนา แต่ยังขาดช่องทาง โอกาส และพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การทำงาน การสัมมนาประจำปี 2561ของหน่วยเฉพาะทาง มีเป้าหมายเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ในหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาหน่วยงานและนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการบริการในหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

4.1 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค

4.2 พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะเฉพาะด้าน (specific competency)ในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค

4.3 นำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนางานประจำให้มีประสิทธิภาพ

 

ตัวชี้วัดของโครงการ

  1. บุคลากรมีโครงการ
  2. บุคลากรมีการถอดบทเรียนตัวเอง
  3. ได้แบบประเมินสมรรถนะ
  4. วัน เวลาและสถานที่

วันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ.2561ณ. Royal Nakhara Hotel Convention Centreอ. เมือง จ.หนองคาย

  1. วิทยากรภายใน

วิทยากรกระบวนการ:  นางพนอ เตชะอธิก  นางอุบล จ๋วงพานิช นางนิภาพรรณ ฤทธิรอด นางสาวอุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง รัชนีพร คนชุมนางสาวเกสร เหล่าอรรคะ

ดร. ขวัญสุดา บุญทศ เฉลิมศรี สรสิทธิ์  และ นางสุธีรา พิมพ์รส

  1. กลุ่มเป้าหมาย (40% =32 คน จำนวนที่ไปร่วมกันและเบิกเงิน 12คนบุคลากรหน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง  12 คน
  2. งบประมาณ  งบประมาณจากเงินรายได้คณะแพทยศาสตร์ จำนวน    2,700บาท X12 คน

= 32,400  บาท  (สามหมื่นสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. บุคลากรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์การทำงาน เพื่อนำสู่การพัฒนาตนเอง และพัฒนาหน่วยงาน
    2. ได้แนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนางานของหน่วยการพยาบาลเฉพาะทาง
    3. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ความสามัคคี และความสุขในการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน
  2. การประเมินผล
    1. ความพึงพอใจในการจัดสัมมนาของบุคลากรในหน่วยงาน มากกว่าร้อยละ 90
    2. การมีส่วนร่วมของผู้ร่วมสัมมนาในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    3. สรุปรายงานการสัมมนาของหน่วยงาน