KM Smart Leader for Personnel Safety 16 มกราคม 2561 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม89 พรรษา สมเด็จย่า ในระบบบริการสุขภาพ บุคลากรทีมสุขภาพคือกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาและบรรลุผลลัพธ์ซึ่งความปลอดภัยของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลได้มีนโยบายคือ 2P Safety Patient and Personnel Safetyเพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและของบุคลากร ซึ่งคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล KM Smart Leader for personnel safety ขึ้นเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการสร้างเสริมความปลอดภัยในบุคลากรและเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมอันจะยังผลให้เกิดนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ครอบคลุมและยั่งยืนต่อไป 1. กระบวนการพัฒนา 1.1 การให้ความรู้ เรื่อง personnel safety โดย 1.1.1 บรรยายนโยบายการใช้ KM ขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรพยาบาลแห่งความปลอดภัยบุคลากร 1.1.2 นโยบายและความคาดหวังด้าน Personnel Safety 1.2 ใช้กระบวนการKM ในการหาองค์ความรู้ที่จะนำสู่การพัฒนาในเรื่อง personnel safety 1.2.1 กิจกรรมเล่าเรื่องดีๆ Smart Leader for Personnel Safety พร้อมบันทึก รวบรวมองค์ความรู้ 1.2.2 Workshop KM ภาวะผู้นำกับการบริหารงานคุณภาพมุ่งผลลัพธ์ความปลอดภัย ประเด็น Social Media 1.2.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เรื่อง การบริหารงานคุณภาพของหัวหน้าหอผู้ป่วยยุคใหม่ใส่ใจความปลอดภัยบุคลากร 1.3 การนำใช้ผลการKM เพิ่มเติมในนโยบายเรื่องsocial media งานบริการพยาบาล เช่น เพิ่มเติมบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยในการนิเทศ กำกับติดตาม 1.4 วางแผนติดตามการนำใช้นโยบาย Social Media ติดตามผลลัพธ์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 1.5 วางแผน KM ในประเด็นอื่นๆนอกจาก Social Media เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและกำหนดผลลัพธ์และติดตามประเมินผลต่อไป 2. ผลการดำเนินงาน/ แนวปฏิบัติ นโยบายและความคาดหวังด้าน Personnel Safety 2.1 สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง personnel safety 2.2 การพัฒนาเพื่อสร้าง personnel safety นั้น ต้องกำหนด outcome ให้ชัดเจน 2.3 ทำกระบวนการ KM ครบวงจร จนเกิด good practice 2.4 นำ KM มาเชื่อมกับงานคุณภาพและระบบพัฒนาบุคลากร 2.5 สร้างความตระหนักว่าการจะเกิด personnel safety นั้น การบริการต้องเป็นเลิศ (service premium) 2.6 มีการรณรงค์ให้บุคลากรสุขภาพดี การตรวจสุขภาพบุคลากร กำหนด KPI เช่น BMIปกติ โรคอ้วนในบุคลากรลดลง ความเจ็บป่วยลดลง เป็นต้น 3. Success story เรื่องเล่าเรื่องดีดี “การบริหารคุณภาพมุ่งผลลัพธ์ Safety” 3.1 พยาบาลต้องมีทักษะ คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย 3.2 บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วย 3.2.1 สื่อสารแนวปฏิบัติ กำกับติดตาม เอื้ออุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้อ ตระหนักว่า ผู้ป่วยปลอดภัยทีมปลอดภัย 3.2.1มีองค์ความรู้ ดูแลบุคลากรที่เจ็บป่วยทางกายและใจให้คำปรึกษา เยียวยา พัฒนาจิต สร้างพลังจากภายใน 3.2.3 บริหารจัดการเมื่อ workload มาก ปรับการทำงานให้ง่ายขึ้น สร้างขวัญและกำลังใจ 3.4 จัดให้มีคู่มือ มีGuideline ในการปฏิบัติ เพิ่มสมรรถนะบุคลากร สร้างพยาบาล senior ให้เก่งและเป็นผู้นำ ร่วมทำงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพ วางระบบที่ดี มีการพัฒนาความก้าวหน้าบุคลากร มีผู้นำที่ดี มีทีมเด่น ปฏิบัติเป็นนิสัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมรอบด้าน 4. Workshop KM ภาวะผู้นำกับการบริหารงานคุณภาพมุ่งผลลัพธ์ความปลอดภัย ประเด็น Social Media ส่วนที่เพิ่มเติมจากนโยบายงานบริการพยาบาล 4.1 ถ้าจะใช้ข้อมูลผู้ป่วยผ่านทางสื่อonline ให้ขออนุญาตผู้ป่วยและญาติโดยให้เซ็นconsent form ระวังเรื่องความลับผู้ป่วย ไม่ระบุตัวตนหรือเปิดเผยภาพของผู้ป่วย 4.2 งดการใช้อาชีพไปเอื้อประโยชน์ส่วนตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4.3 ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นการสื่อสาร ที่เป็นประโยชน์ 4.4 ให้หัวหน้าหอผู้ป่วย มีบทบาทในการกำกับติดตาม เน้นย้ำบุคลากรถึงความสำคัญของการใช้สื่ออย่างระมัดระวัง และเหมาะสม 5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 5.1 การสร้างองค์ความรู้ 5.2 การนำใช้ KM 5.3 การกำกับติดตามจากผู้เกี่ยวข้อง