Skip to content

Menu
  • Home
  • History
  • Org-chart
  • Vision-Mission
  • Administrator
Menu

การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุระดับรุณแรงในห้องกู้ชีพ

Posted on December 3, 2024 by kob

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: การวิจัยและการพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิจนและภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง 2) ประเมินความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาล 3) ประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วย โดยใช้กรอบแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ของชูคัพ เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาล 37 คน และผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุระดับรุนแรง 63 คน เครื่องมือวิจัยคือ แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บ แบบสอบถามความเป็น

ไปได้การนำใช้และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่คู่ ผลพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 14 เรื่อง ประกอบด้วย 4 หมวด คือ 1) การดูแลเครื่องช่วยหายใจ 2) การดูแลจัดท่าผู้ป่วย 3) การดูแลทงเดินหายใจ และ4) การเฝ้าระวัง เมื่อประเมินผลหลังใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกับพยาบาล พบว่า แนวปฏิบัตินี้มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (M = 2.9, SD = 0.3) และพยาบาลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

(M = 4.7, SD = 0.5) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า ค่าเฉลี่ยออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซค์ในลมหายใจออกสุด ก่อนจำหน่ายสูงกว่าเมื่อแรกรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกตัวและค่ความดันโลหิตแรกรับและก่อนจำหน่าย พบว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุระดับรุนแรงในห้องกู้ชีพ เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกชิเจนและความดันในกะโหลกศีรษะสูง

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/article/view/265399

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

  • งานการพยาบาลกุมารเวชกรรม
  • งานการพยาบาลเฉพาะทาง
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต1
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต3
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ1
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ3
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ4
  • งานการพยาบาลศัลยกรรม
  • งานการพยาบาลออร์โธปิดิกส์
  • งานการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก
  • งานการพยาบาลจักษุ -โสตฯ
  • งานการพยาบาลบำบัดพิเศษ
  • งานการพยาบาลห้องผ่าตัด1
  • งานการพยาบาลห้องผ่าตัด2
  • งานการพยาบาลสูติ-นรีเวช
  • งานการพยาบาลอายุรกรรม1
  • งานการพยาบาลอายุรกรรม2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
  • งานวิสัญญีพยาบาล
© 2025 | Powered by Minimalist Blog WordPress Theme