Skip to content

Menu
  • Home
  • History
  • Org-chart
  • Vision-Mission
  • Administrator
Menu

Developing an e-learning system for blood transfusion nursing for professional nurses

Posted on December 4, 2024December 4, 2024 by kob

Sudthanom Kamollerd M.Sc., Rassamee Phawapinich M.N.S., Nutcharee Homnan M.N.S.,Sanpicha Sornpirom M.N.S., Pasakorn Ngoangam M.N.S., Bhussaba Bungrathok B.N.S.,Sumalee Suwunnasin B.N.S.***

บทคัดย่อ

ระบบอีเลิร์นนิ่งเป็นเครื่องมือที่หลายองค์กรนำมาใช้ในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากร เนื่องจากเข้าสู่เนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว สามารถพัฒนาความรู้และทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรในรูปแบบการฝึกอบรม ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และมีข้อจำกัดด้านบุคลกรที่ปฏิบัติงานเป็นผลัด เช้า บ่าย ดึก           ไม่สามารถจัดอบรมพร้อมกันได้อย่างทั่วถึง การวิจัยนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลที่มีต่อระบบอีเลิร์นนิ่ง
ที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน5 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลร่วม จำนวน 1 คน ขั้นปฏิบัติ ใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลร่วม จำนวน 3 คน ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผล ใช้กลุ่มตัวอย่าง พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในงานการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต 3 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 43 คน เลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย บทเรียนเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด แบบบันทึกผลการประชุม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบและความพึงพอใจของพยาบาล      ต่อการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบอีเลิร์นนิ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่าง ด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (paired t-test) เนื่องจากเป็นการวัดซ้ำของ 1 กลุ่มตัวอย่าง และการแจกแจงข้อมูลปกติ

ผลการวิจัย พบว่าผลลัพธ์การพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
ได้ระบบอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด เป็นระบบออนไลน์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนและหลังเรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นของพยาบาลต่อประสิทธิภาพของระบบอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.22, SD=0.670) และความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (=4.28, SD=0.654) 

ข้อเสนอแนะ  

  1. ควรนำผลการวิจัยไปใช้ด้านการบริหารในการวางแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลและติดตามการปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย
  2. ควรมีการศึกษาประสิทธิผลของระบบอีเลิร์นนิ่งเปรียบเทียบกันการเรียนรู้ระบบอื่น เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ในระบบที่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: การพยาบาล ความพึงพอใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีเลิร์นนิง

e-learningDownload

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

  • งานการพยาบาลกุมารเวชกรรม
  • งานการพยาบาลเฉพาะทาง
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต1
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต3
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ1
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ3
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ4
  • งานการพยาบาลศัลยกรรม
  • งานการพยาบาลออร์โธปิดิกส์
  • งานการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก
  • งานการพยาบาลจักษุ -โสตฯ
  • งานการพยาบาลบำบัดพิเศษ
  • งานการพยาบาลห้องผ่าตัด1
  • งานการพยาบาลห้องผ่าตัด2
  • งานการพยาบาลสูติ-นรีเวช
  • งานการพยาบาลอายุรกรรม1
  • งานการพยาบาลอายุรกรรม2
  • งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
  • งานวิสัญญีพยาบาล
© 2025 | Powered by Minimalist Blog WordPress Theme