สุดถนอม กมลเลิศ, วรินธร บุญศิลป์, กาญจนา สิมะจารึก, จันทิรา วชิราภากร, นุชจรี วุฒิสุพงษ์, พัชรากร อ่อนทอง1บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจบริหารอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร แผนกการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย ศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจของหัวหน้าเวรต่อการใช้งานโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือพยาบาลหัวหน้าเวรที่มีประสบการณ์เป็นหัวหน้าเวรมากกว่า 1 ปี ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย 3จ และ 4ค จำนวน 26 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย คู่มือการใช้โปรแกรม แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจบริหารอัตรากำลังก่อนและหลังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจำแนกประเภทผู้ป่วย ซึ่งเป็น Rating Scale 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73 แบบวัดประสิทธิภาพและความพึงพอใจของหัวหน้าเวรหลังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจำแนกประเภทผู้ป่วยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการตัดสินใจบริหารอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร หลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม ( x̅=4.17+0.59, x̅ =3.68+0.35, p=0.004)และพยาบาลหัวหน้าเวรมีความคิดเห็นด้านประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม อยู่ในระดับมากคำสำคัญ:…
Author: kob
Development of Information System for Targeted Surveillance in Srinagarind Hospital
สุดถนอม กมลเลิศ, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, ภัทรพล คำสอนทา, สุพัฒน์ ทัพหงษา, วราลักษณ์ เย็นญาบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตลอดจนความพึงพอใจของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยต่อการใช้งานระหว่างระบบเดิมและระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมการติดเชื้อที่ผ่านการอบรมด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล คู่มือการใช้ระบบ และแบบวัดความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยต่อการใช้งานระบบ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยต่อการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าการระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลของระบบใหม่สูงกว่าระบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.5 โดยระดับประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอต่อการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าการระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลของระบบใหม่อยู่ในระดับมาก และระบบเดิมอยู่ในระดับต่ำ คำสำคัญ ระบบสารสนเทศ, การเฝ้าระวังการติดเชื้อ, พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ