สุดถนอม กมลเลิศ วท.ม** สุพัฒน์ ทัพหงษา ส.ม.** พรนิภา หาญละคร พย.ม.** นิภาพรรณ ฤทธิรอด ศศ.ม.**ผกากรอง ลุมพิกานนท์ พ.บ.ป.ขั้นสูง*** บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโมบายแอปพลิเคชันต่อความร่วมมือในการกินยาต้านไวรัสในผู้ป่วยวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและเอดส์ที่ได้รับโมบายแอปพลิเคชันและผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโมบายแอปพลิเคชันต่อความร่วมมือในการกินยาต้านไวรัสในผู้ป่วยวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและเอดส์ อายุระหว่าง 13-21 ปี จำนวน 20 คน ที่มารักษาที่คลินิกโรคติดเชื้อเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ด้วยการสุ่มแบบบล็อกกลุ่มละ 10 คน กลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลแบบปกติ กลุ่มทดลองจะได้รับการดูแลแบบปกติและได้รับโมบายแอปพลิเคชันติดตั้งบนสมาร์ทโพน ฟังก์ชั่นการทำงาน ได้แก่ การบันทึกข้อมูลการรักษาและข้อมูลการกินยา ความรู้เรื่องการกินยาต้านไวรัส ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การสืบค้นข้อมูลยาและการดูแลสุขภาพ การประเมินภาวะซึมเศร้า ระบบตั้งเตือนการกินยา และห้องสนทนาออนไลน์ ใช้ระยะเวลาทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบถูกต้องและความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชันปฏิบัติการบนระบบแอนดรอยด์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกนับเม็ดยาและแบบสอบถามความร่วมมือในการกินยา (MMRS-8) ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกซัน…
Author: kob
A development of a prototype queue application for Out Patient
สุดถนอม กมลเลิศ, รัศมี ภะวะพินิจ ,ภาสกร เงางาม, บุษบา บุญกระโทก, เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย, โฉมพิไล นันทรักษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทคัดย่อ การรอคิวในโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วย การใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการคิวจึงมีความสำคัญ ช่วยบริหารเวลารออย่างเหมาะสมและเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการ การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันคิวสำหรับห้องตรวจผู้ป่วยนอก และศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการต่อการใช้งานต้นแบบแอปพลิเคชันคิวที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2567 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนพัฒนา 2) ระยะพัฒนา และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ห้องตรวจเวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 10 ราย โดยเลือกแบบเจาะจง และผู้รับบริการจำนวน 392 ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคิวแบบเดิมของผู้ให้และผู้รับบริการ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกผลการประชุม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ต้นแบบแอปพลิเคชันคิวของผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคิวแบบเดิมของผู้ให้และผู้รับบริการ มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค…