กัลยารัตน์ หล้าธรรม พย.ม.(การพยาบาลผู้ใหญ่) หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน บทคัดย่อ การวิเคราะห์งานครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลลัพธ์ของระบบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงที่ห้องกู้ชีพ ประกอบด้วยผลลัพธ์ด้านการบริการและผลลัพธ์ด้านคลินิกโดยใช้ Donabedian model เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์งาน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นที่เข้ารับการรักษาที่ห้องกู้ชีพ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป การเจ็บป่วยและการบริการของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น 2) แบบประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงตามเกณฑ์ เชิงโครงสร้าง เชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ในห้องกู้ชีพ 3) แบบบันทึกระยะเวลาการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในห้องกู้ชีพ 4) แบบบันทึกผลลัพธ์อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในห้องกู้ชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 64.55 มีอายุเฉลี่ย 54 ปี (SD = 21.45)…
Author: kob
การใช้โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี
บทคัดย่อ การวิเคราะห์งานแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี ที่มารับบริการที่คลินิกไต ห้องตรวจกุมารเวชกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างเดือนวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี และแบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบpaired t-test และ Wilcoxon signed Rank test ผลการศึกษา พบว่า 1. หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 197.75 (S.D.=9.70) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 185.25 (S.D.=9.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.14, P…