สุดถนอม กมลเลิศ, รัศมี ภะวะพินิจ ,ภาสกร เงางาม, บุษบา บุญกระโทก, เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย, โฉมพิไล นันทรักษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทคัดย่อ การรอคิวในโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วย การใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการคิวจึงมีความสำคัญ ช่วยบริหารเวลารออย่างเหมาะสมและเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการ การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันคิวสำหรับห้องตรวจผู้ป่วยนอก และศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการต่อการใช้งานต้นแบบแอปพลิเคชันคิวที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2567 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนพัฒนา 2) ระยะพัฒนา และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ห้องตรวจเวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 10 ราย โดยเลือกแบบเจาะจง และผู้รับบริการจำนวน 392 ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคิวแบบเดิมของผู้ให้และผู้รับบริการ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกผลการประชุม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ต้นแบบแอปพลิเคชันคิวของผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคิวแบบเดิมของผู้ให้และผู้รับบริการ มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค…
Author: kob
การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุระดับรุณแรงในห้องกู้ชีพ
บทคัดย่อ บทคัดย่อ: การวิจัยและการพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิจนและภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง 2) ประเมินความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาล 3) ประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วย โดยใช้กรอบแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ของชูคัพ เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาล 37 คน และผู้ป่วยบาดเจ็บสมองจากอุบัติเหตุระดับรุนแรง 63 คน เครื่องมือวิจัยคือ แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกผลลัพธ์ผู้ป่วยบาดเจ็บ แบบสอบถามความเป็น ไปได้การนำใช้และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่คู่ ผลพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 14 เรื่อง ประกอบด้วย 4 หมวด คือ 1) การดูแลเครื่องช่วยหายใจ 2) การดูแลจัดท่าผู้ป่วย 3) การดูแลทงเดินหายใจ และ4) การเฝ้าระวัง เมื่อประเมินผลหลังใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกับพยาบาล พบว่า แนวปฏิบัตินี้มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (M = 2.9, SD = 0.3) และพยาบาลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (M…