โดย พรนิภา หาญละคร, เกสร เหล่าอรรคะ, สมใจ รัตนมณี, สุดถนอม กมลเลิศ, และธนิดา นันทะแสน บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลศรีนครินทร์จำนวน 40 คน จับคู่ เพศ สถานะภาพสมรสและระยะโรค แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 – 31 สิงหาคม 2557 กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติรวมกับแนวปฏิบัติการเสริมพลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อติดตามที่ 6 เดือนพบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ยังคงมีพฤติกรรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในคุณภาพชีวิต (p>0.05) คําสำคัญ: แนวปฏิบัติการเสริมพลังอำนาจ พฤติกรรรมการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ <<CLICK>>
Author: kob
ประเมินผลลัพธ์ของระบบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น
กัลยารัตน์ หล้าธรรม พย.ม.(การพยาบาลผู้ใหญ่) หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน บทคัดย่อ การวิเคราะห์งานครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลลัพธ์ของระบบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงที่ห้องกู้ชีพ ประกอบด้วยผลลัพธ์ด้านการบริการและผลลัพธ์ด้านคลินิกโดยใช้ Donabedian model เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์งาน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นที่เข้ารับการรักษาที่ห้องกู้ชีพ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป การเจ็บป่วยและการบริการของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น 2) แบบประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงตามเกณฑ์ เชิงโครงสร้าง เชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ในห้องกู้ชีพ 3) แบบบันทึกระยะเวลาการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในห้องกู้ชีพ 4) แบบบันทึกผลลัพธ์อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในห้องกู้ชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 64.55 มีอายุเฉลี่ย 54 ปี (SD = 21.45)…